รถบรรทุกขนส่งเศษเหล็กของเหล็กเส้นและอุตสาหกรรมเหล็กไทย
“รถบรรทุกขนส่งเศษเหล็ก” วัสดุสำคัญในการผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง การขยายตัวของเมืองเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ การก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของการเติบโต วัสดุก่อสร้างจึงมีบทบาทอย่างยิ่งโดยเฉพาะเหล็กเส้น แต่ทว่ากว่าจะมาเป็นรถบรรทุกขนส่งเหล็กเส้นจะต้องผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง และปัจจัยด้านวัตถุดิบในการผลิตนั้นสำคัญสำคัญอย่างไร
หัวข้อ
ความสำคัญต่อรถบรรทุกขนส่งอุตสาหกรรมเหล็กอย่างไร
เศษเหล็กมาจากไหน
ระบบบริหารการจัดการของไทย
ลมหายใจของอุตสาหกรรมเหล็ก
ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเหล็กอย่างไร
หากเรามองไปรอบๆ ตัวและสังเกตดีๆ จะเห็นว่ากว่า 80% ของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็น ตึกที่อยู่อาศัย สำนักงาน ถนน สะพาน หรือแม้กระทั่งของใช้ภายในบ้าน สิ่งเหล่านี้ต่างก็มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อสิ่งของเหล่านี้หมดอายุการใช้เราอาจจะมองไม่เห็นคุณค่าของมัน เพราะเรานิยามสิ่งนี้ว่า “ขยะ” จุดจบของมันคือถังขยะหน้าบ้าน ข้างถนน ในชุมชน หรือดีหน่อยก็จะไปจบที่ร้านรับซื้อของเก่า แต่สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กแล้วสิ่งนี้คือของมีค่ามหาศาลที่จะต่อลมหายใจให้กับธุรกิจ
เศษเหล็กมาจากไหน
ในหนึ่งปีเศษเหล็กจำนวนมหาศาลถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยรถบรรทุกขนส่งซากรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า เพราะสิ่งนี้เป็นวัตถุดิบหลักและหัวใจสำคัญของการผลิตเหล็กของไทย หลายคนต่างก็ทราบดีว่าไทยเป็นประเทศที่ผลิตเหล็กจากการหลอมเศษเหล็ก แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าเศษเหล็กมาจากไหน สำคัญอย่างไร และเราจะมีส่วนช่วยหรือผลักดันอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างไร
ยังมีเศษเหล็กจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบและไม่ได้รถบรรทุกขนส่งนำมารีไซเคิล (Recycle) อย่างถูกวิธี สาเหตุหลักคือยังไม่มีระบบบริหารการจัดการที่ดี ยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม หรือแม้กระทั่งบริบทด้านกฎหมายหรือข้อกำหนดที่จะส่งเสริมการบริหารจัดการเศษเหล็กอย่างเป็นระบบได้ ดังนั้นเศษเหล็กหลายประเภทจึงถูกทิ้งขว้างไม่มีคนสนใจ ซากรถยนต์เก่าถูกทิ้งไว้ตามข้างถนน ชุมชน ซากเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกทิ้งในกองขยะชุมชนและพื้นที่ว่างเปล่า เมื่อนานไปก็ยิ่งเสื่อมสภาพ ถูกสนิมกัดกิน เมื่อฝนตกก็ไหลซึมลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ เมื่อลมพัดก็ล่องลอยไปในอากาศ
ระบบการบริหารจัดการของไทย
หากตั้งคำถามว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการเศษเหล็กเพียงใดเราแทบหาคำตอบไม่ได้ ไม่เพียงแค่เศษเหล็กเท่านั้น ขยะหลายประเภทยังขาดการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพียงแค่เพราะว่าเรานิยามมันว่าขยะและความเข้าใจผิดๆ คือ “ขยะต้องทำลาย” ตรงกันข้ามยังมีขยะบางประเภทที่มีมูลค่าและส่งผลทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เช่น ขยะแห้งจำพวกพลาสติก โฟม ฟองน้ำ สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้ หรือแม้กระทั่งเศษเหล็กต่างก็ถูกนำมาแปรรูปและนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ อย่างไรก็ดี ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาไปข้างหน้า แต่ระบบการจัดการขยะยังย่ำอยู่กับที่ สาเหตุเพราะพฤติกรรมของคนในสังคม ความร่วมมือของหน่วยงาน หรือกฎระเบียบที่ยังไม่ครอบครุมและเคร่งครัด ทั้งหมดนี้เป็นคำถามที่เราต่างก็ต้องหาคมตอบร่วมกัน
ลมหายใจของอุตสาหกรรมเหล็ก
เนื่องจากไทยไม่มีการจัดตั้งเหมืองผลิตเหล็กจากสินแร่เหล็กในธรรมชาติ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กของไทยจำใช้วิธีการรีไซเคิลโดยการนำเศษเหล็กกลับมาหลอมใหม่เพื่อที่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกครั้ง ซากรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์จำนวนมากจะถูกนำมาคัดแยกส่วนประกอบที่ไม่ใช่เหล็กออก เพื่อนำเศษเหล็กเข้าสู่ระบวนการหลอมและขึ้นรูปใหม่ด้วยเทคโนโลยีการหลอมแบบเตา Electric Arc Furnace (EAF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลอมเหล็กที่ดีที่สุด ในทุกขั้นตอนเราให้ความสำคัญด้านการควบคุมการปล่อยมลพิษที่อาจส่งผลต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม แม้ว่ามิลล์คอนฯ เราจะมีศักยภาพในการจัดการเศษเหล็กที่ดี แต่ยังคงต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดการจัดการเศษเหล็กในภาพรวมให้เป็นระบบยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป